"ปรงญี่ปุ่น" มีลักษณะคล้าย ๆ กับต้นปาล์ม สูง 2-4 เมตร ลำต้นตรง


ปรงญี่ปุ่น
---------------------------
มีลักษณะคล้าย ๆ กับต้นปาล์ม สูง 2-4 เมตร ลำต้นตรง และแตกกิ่งก้าน สาขาได้ในสภาพท้องถิ่นกำเนิด มีรากสะสมอาหารอ้วน และมีแป้งใช้รับประทานได้ ใบโค้งลง ยาว 60-80 เซนติเมตร ใบเป็นขนนก และมีใบย่อยออกจากสองข้างเป็นจำนวนมาก และโค้งลง ใบย่อยแคบแข็ง ปลายแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน
ขอบใบม้วนเข้าหากลางใบ แยกเพศคนละต้น จึงมีต้นตัวผู้ ตัวเมีย ไม่มีการติดผล ในประเทศไทย พบในป่าเบญจพรรรณ และป่าเต็งรังทั่วไปที่ความสูง 2-1000 เมตร
ในประเทศอื่น ๆ พบขึ้นในประเทศพม่า ลาว จีนตอนใต้
นิเวศวิทยา ชอบแดดจัด
---------------------------
การดูแลรักษา
•แสง ชอบแสงแดดจัด
•น้ำ ปรงเป็นพืชที่ทนต่อการขาดน้ำและต้องการน้ำพอประมาณ
•ดิน ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดแต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนทราย
•ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง
---------------------------
ใบและดอก
•ใบ: ประกอบแบบขนนก ยาว 60-180 เซนติเมตร กระจุกแน่นอยู่ที่ยอด ใบอ่อนหยิกและมีขนคล้ายขนสัตว์ปกคลุม ใบย่อย มีจำนวนมาก รูปยาวแคบ กว้าง 0.5 มิลลิเมตร ยาว 2.5-6 มิลลิเมตร ปลายเรียวแหลมคล้ายหนาม สีเขียวเข้ม เป็นมัน ขอบใบม้วนลงข้างล่าง ก้านใบ แข็ง ยาว 9-10 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยมมีหนามแหลมสั้นๆ
•ดอก: อวัยวะสืบพันธุ์แยกเพศ อยู่คนละต้น อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ ออกเป็นช่อแน่น ทรงกระบอกแกมรี กว้าง 9-10 เซนติแมตร ยาว 30 เซนติเมตร ประกอบด้วยกาบอัดเรียงซ้อนกันอยู่ ที่โคนกาบจะมี ส่วนที่ใช้สืบพันธุ์อยู่เป็นกลุ่ม เมื่อแก่จะปลิวออกไปเหมือนเกสรตัวผู้ อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ยาว 10-23 เซนติเมตร ประกอบด้วยกาบซ้อนเรียงทับกัน กาบตอนบนรูปไข่กลับ ขอบหยักลึก มีขนสีน้ำตาล ส่วนล่างเป็นก้านมีไข่อ่อนติดอยู่ 1-2 คู่
•ผล: กลมไม่มีเนื้อผล เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง สรรพคุณตามตำรับยาไทย ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ:
•ต้น : เป็นยาขับเสมหะ ให้แป้งสาคูใช้เป็นอาหารได้
---------------------------
การนำไปใช้
• ปลูกเป็นไม้ประดับ ต้นเป็นยาขับเสมหะ และให้แป้งสาคูมีรากสะสมอาหารอ้วน และมีแป้งใช้รับประทานได้ แต่ไม่ใช่ต้นสาคู
การกระจายพันธุ์: ถิ่นกำเนิด ประเทศญี่ปุ่นตอนใต้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
1. ปลูกเป็นไม้ประดับทั้งในและนอกอาคาร หรือ บริเวณส่วนหย่อม เพราะเป็นพืชที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตช้า และทนต่อสภาวะที่มีแสงน้อย
2. เป็นยาสมุนไพร ต้นใช้ตำหรือบดสระผมรักษารากผม ส่วนหัวใช้หัวฝนกับเหล้า ทาแก้ฟกช้ำ สมานแผลฟกช้ำ และแผลเนื้อตาย
3. เนื้อในหัวใช้ปรุงเป็นอาหารได้

Share this

Related Posts

Previous
Next Post »