ลักษณะความรักแบบเมตตา


เราจะสังเกตได้อย่างไรว่า ความอยากให้เขามีความสุข หรืออยากเห็นเขามีความสุข และอยากทำอะไรๆ เพื่อให้เขามีความสุข จึงไม่ใช่กิเลสตัณหา ไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว ไม่มีตัวตน ตัวกู ของกู แต่เป็นความรักความปรารถนาดีด้วยสติปัญญา ปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายดำรงตนอยู่อย่างสงบสุข  เช่น พระพุทธเจ้าทรงเมตตาต่อสรรพสัตว์ เป็นต้น

๒. กระทำหรือแสดงออกแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเกื้อกูลต่อคนอื่นและสัตว์อื่นอยู่เสมอ

ในเมื่อมีความปรารถนาดีแก่สรรพสัตว์แล้ว เมื่อจะประพฤติสิ่งใดก็ตาม ถ้าเป็นไปเพื่อสร้างทุกข์ ก่อปัญหา ไม่เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นก็ละเว้นเสีย จะประพฤติแต่สิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์ และอำนวยสุขแก่บุคคลอื่นเท่านั้น โดยถือว่าการกระทำที่ดีงามเป็นเหมือนหน้าที่ของตน เป็นภาระตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่ตนได้เกิดมา บุคคลผู้มีเมตตา ย่อมเป็นผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณงามความดี จากนั้นก็น้อมนำคุณงามความดี สิ่งที่เป็นประโยชน์สู่บุคคลอื่นๆ ให้เขาเหล่านั้นได้รับประโยชน์และความสุขเช่นเดียวกับที่ตนเองได้รับมา เมตตาลักษณะนี้จึงไม่มีความบกพร่องอยู่ข้างใน

๓. มีพลังสามารถทำลายความอาฆาตพยาบาทได้

“ความอาฆาต” คือ ความโกรธเคือง ฉุนเฉียว กระทบกระทั่ง ผูกโกรธ ผูกใจเจ็บ และอยากแก้แค้น บุคคลที่มีเมตตาจิตสามารถกำจัดจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความอาฆาตแค้น ที่บังเกิดขึ้นในดวงจิตของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายได้ ส่วน “ความพยาบาท” คือ ความขัดเคือง แค้นใจ ความเจ็บใจ ความคิดร้าย  ความผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้นต่างๆ เนื่องจากผู้มีเมตตานั้นย่อมต้องมีการให้อภัยแก่บุคคลและสัตว์เป็นพื้นฐานอยู่เสมอ ไม่ถือสาเอาสิ่งที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ ขัดเคืองใจ และความโกรธมาเป็นอารมณ์เหนือจิตใจของตน พร้อมที่จะให้อภัยแก่บุคคลคนนั้นอยู่เสมอ เมื่อจิตใจให้อภัยแล้วความโกรธเคืองและความคิดเป็นอกุศลอื่นๆก็เกิดขึ้นไม่ได้ หรือเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถสงบระงับลงด้วยด้วยอภัยทาน

๔. ที่มีเมตตาจะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อตนเองสามารถทำให้บุคคลอื่นมีความสุขด้วย นั่นก็คือ เห็นความสุขของบุคคลอื่นตลอดจนถึงสรรพสัตว์ทั่วๆไปเป็นพื้นฐานสำคัญ

หากการกระทำหรือคำพูดใดๆของตน ที่จะส่งผลกระทบถึงบุคคลอื่นให้ได้รับความทุกข์  ก็ไม่กระทำ ไม่กล่าวคำเช่นนั้น และเมื่อเห็นบุคคลอื่นมีความสุขก็ยินดีในความสุขของเขา สนับสนุนเอาใจใส่ ไม่อิจฉาริษยา มีแต่ความปลาบปลื้มยินดีด้วย ในทางตรงกันข้ามหากบุคคลที่ตนรักมีความทุกข์ก็จะเกิดความกรุณา สงสาร คิดช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำการต่างๆเพื่อช่วยเหลือให้เขาพ้นจากความทุกข์ แม้ได้ช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถแล้ว แต่ไม่สามารถช่วยได้ ก็จะเกิดอุเบกขาตามมา เราจะเห็นได้จากความรักของพ่อแม่ กล่าวคือ พ่อแม่จะกระทำทุกอย่างเพื่อความสุขของลูก

สมัยเรียนมัธยมผู้เขียนเคยอ่านเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งน่าสนใจมาก ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชายหนุ่มคนหนึ่งสอบติดมหาวิทยาลัยในกรุงเทพ จะเดินทางไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพ ก่อนออกเดินทางลุงของชายหนุ่มคนนี้แวะมาบอกว่า “ก่อนไป ให้แวะไปหาแกด้วย แกจะให้คาถามหาเสน่ห์” ชายหนุ่มคนนี้ดีใจมาก ก่อนออกเดินทางจึงไปหาคุณลุง ไปถึงลุงก็บอกว่าให้จำไว้นะหลาน คาถามหาเสน่ห์มี ๓ คำ เท่านั้น คือ “ผม-รัก-คุณ” แกบอกว่า ให้ท่องคำนี้ให้ขึ้นใจและนำไปใช้ปฏิบัติ เมื่อมีคนด่า ก็ให้ท่องคาถานี้ในใจ ความโกรธเกลียดผู้ด่าก็จะหมดไป เวลาครูสอนให้ท่องคาถานี้ในใจ เราจะให้ความเคารพและตั้งใจเรียน แม้เวลาจ่ายค่ารถ ซื้อของ ก็ให้ท่องคาถานี้ให้ขึ้นใจ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ความรักเกิดขึ้น ความโกรธ เกลียด แค้น เคือง พยาบาทก็จะไม่เกิดขึ้น ใครจะลองเอาไปปฏิบัติก็ได้นะครับ แต่มีข้อแม้ว่า เวลาเจอแฟนคนอื่นอย่าท่องออกเสียงแล้วกัน มิเช่นนั้นไม่รับรองความปลอดภัย

แชร์ได้ ค่ะ

ที่มา: https://plus.google.com/102094581519826698737

Share this

Related Posts

Previous
Next Post »